ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันอย่างสูง องค์กรเริ่มปรับตัวมีการนำระบบ IT เข้ามาบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อการเปลี่ยนระบบจากกระดาษมาเป็นการบันทึกข้อมูลลงบนเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการข้อมูลที่ดี ถ้าให้ทาง ITNETWORK มาช่วยองค์กรคุณจัดการระบบต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน จะช่วยให้องค์กรคุณสามารถก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง และปลอดภัย

ป้องกันภัยระบบเครือข่ายทั้งองค์กร ด้วยการกำหนดตัวตนของผู้ใช้งาน (Authentication) และกำหนด Policy ของผู้ใช้งาน (Role) ซึ่งจะช่วยป้องกันองค์กรได้อย่างครอบคลุมทุกรูปแบบการเชื่อมต่อ ไม่ว่าจากการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ภายในหรือนอกองค์กร หรือ การเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย ซึ่ง Role จะเปลี่ยนไปตามลักษณะการเชื่อมต่อของการใช้งาน ทำให้องค์กรสามารถป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ เช่น ฝ่ายการตลาดจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลฝ่ายการเงินได้ หรือสามารถป้องกันภัยจาก Malware ได้ด้วยการแจ้งเตือนและจำกัดสิทธิ์การใช้งานของผู้ที่ใช้งานแปลกไปจากปกติ

เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน

ในปัจจุบันบริษัทหรือนักการตลาดอาจได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ หรือแม้แต่การเก็บคุกกี้จากการใช้บริการเว็บไซต์ต่าง ๆ

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการสร้างกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัท พนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถ้าบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลทันที โดยไม่ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน และ/หรือรวมถึงไม่ได้มีการขอความยินยอมก่อนสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีการขอความยินยอม จะกลายเป็นการกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA และอาจมีความผิดได้

เมื่อเราเข้าใจว่า PDPA คืออะไร? ทีนี้เราก็มารู้จักกับความหมายและประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลกัน ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลธรรมดาคนๆนึงได้ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างข้อมูล

ส่วนบุคคลทั่วไป

  • ชื่อ-นามสกุล 
  • เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน
  • เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่
  • ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์
  • ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน
  • วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง
  • ข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password,  Cookies IP address,  GPS Location

นอกจากเราจะต้องรู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปแล้ว เรายังต้องรู้จักและระมัดระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งในแง่ของการทำงาน สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ PDPA จึงกำหนดโทษที่หนักขึ้นหากใช้ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจรวมถึงโทษอาญา ที่กรรมการต้องติดคุก

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว คือข้อมูลดังต่อไปนี้

  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา