
บริการดูแลระบบ IT แบบครบวงจร
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันอย่างสูง องค์กรเริ่มปรับตัวมีการนำระบบ IT เข้ามาบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อการเปลี่ยนระบบจากกระดาษมาเป็นการบันทึกข้อมูลลงบนเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการข้อมูลที่ดี ถ้าให้ทาง ITNETWORK มาช่วยองค์กรคุณจัดการระบบต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน จะช่วยให้องค์กรคุณสามารถก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง และปลอดภัย
System Infrastructure

- Wiring สายสื่อสารต่างๆ เช่น Lan, Fiber รวมถึง CCTV
- Cable Test
- Diagram Network
- Config Network, Config Access Point
- ทํา VLAN เชื่อมต่อระหว่างชั้น /อาคาร
- เลือกอุปกรณ์ และ Solution ให้สอดคล้องกับพื้นที่ใช้งาน
เสริมความปลอดภัยของระบบเครือข่ายด้วยการป้องกันในทุกด้าน
ป้องกันภัยระบบเครือข่ายทั้งองค์กร ด้วยการกำหนดตัวตนของผู้ใช้งาน (Authentication) และกำหนด Policy ของผู้ใช้งาน (Role) ซึ่งจะช่วยป้องกันองค์กรได้อย่างครอบคลุมทุกรูปแบบการเชื่อมต่อ ไม่ว่าจากการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ภายในหรือนอกองค์กร หรือ การเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย ซึ่ง Role จะเปลี่ยนไปตามลักษณะการเชื่อมต่อของการใช้งาน ทำให้องค์กรสามารถป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ เช่น ฝ่ายการตลาดจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลฝ่ายการเงินได้ หรือสามารถป้องกันภัยจาก Malware ได้ด้วยการแจ้งเตือนและจำกัดสิทธิ์การใช้งานของผู้ที่ใช้งานแปลกไปจากปกติ


เป็นอุปกรณ์เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ซึ่งผ่านการ ทดสอบและได้รับการรับรองตามข้อกําหนดของมาตรฐาน มศอ.4003.1-2560 “ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่ถูกพัฒนา โดยอ้างอิงพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
NetkaView Logger สามารถรับ เก็บบันทึก และรักษาบูรณภาพ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามหลักการที่ถูกต้องโดยชอบด้วย กฎหมายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียความถูกต้องสมบูรณ์ของ ข้อมูล (Data Integrity) และเพียงพอสําหรับระบุผู้เกี่ยวข้องได้อย่าง น่าเชื่อถือ
NetkaView Logger (หรือ NLG) เป็นซอฟต์แวร์หรือ Appliance ที่ได้รับการ ออกแบบมาเพื่อให้มีคุณสมบัติความสามารถในการรับข้อมูลเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบบันทึกเหตุการณ์หรือ Log จากระบบต่างๆ เช่น Switch, Router, Firewall, VPN, Network devices, Server, OS, Database เป็นต้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวไว้ใช้ในการวิเคราะห์ เหตุการณ์ที่ปรากฏ ด้วยมาตรฐาน Syslog ซึ่งมีประโยชน์ในการสืบเสาะหา ความเกี่ยวพันของข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลบันทึกการเข้าถึงระบบ จากเครื่องลูกข่าย (client) ไปยังเครื่องแม่ข่าย (server) ระบุวันเวลาที่เกิด เหตุการณ์, ระบุแหล่งของเหตุการณ์ เป็นต้น ตามข้อกําหนดของมาตรฐาน มศอ.4003.1-2560 ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
NLG รองรับการทํางานทั้งบนเครื่องแม่ข่ายจริง (barebone) และบนเครื่องแม่ ข่ายแบบเสมือนจริง (virtual machine) บนระบบจําลองเครื่องแม่ข่าย (Hypervisor) เชน VMware, Microsoft Hyper-V, Redhat KVM, Oracle Virtual Box เป็นต้น ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นต่อผู้ใชงาน NLG ได้เป็นอย่างดี




กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act)
เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน

ในปัจจุบันบริษัทหรือนักการตลาดอาจได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ หรือแม้แต่การเก็บคุกกี้จากการใช้บริการเว็บไซต์ต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการสร้างกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัท พนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถ้าบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลทันที โดยไม่ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน และ/หรือรวมถึงไม่ได้มีการขอความยินยอมก่อนสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีการขอความยินยอม จะกลายเป็นการกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA และอาจมีความผิดได้
ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ PDPA มีอะไรบ้าง?
เมื่อเราเข้าใจว่า PDPA คืออะไร? ทีนี้เราก็มารู้จักกับความหมายและประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลกัน ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลธรรมดาคนๆนึงได้ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างข้อมูล
ส่วนบุคคลทั่วไป
- ชื่อ-นามสกุล
- เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน
- เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่
- ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์
- ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน
- วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง
- ข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password, Cookies IP address, GPS Location
นอกจากเราจะต้องรู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปแล้ว เรายังต้องรู้จักและระมัดระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งในแง่ของการทำงาน สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ PDPA จึงกำหนดโทษที่หนักขึ้นหากใช้ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจรวมถึงโทษอาญา ที่กรรมการต้องติดคุก
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว คือข้อมูลดังต่อไปนี้
- เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
- ความคิดเห็นทางการเมือง
- ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์
- ข้อมูลสหภาพแรงงาน
- ข้อมูลพันธุกรรม
- ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา